logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
รู้เร็ว มะเร็งร้ายในปากคุณ

มะเร็งช่องปาก หนึ่งในภัยร้ายที่สามารถคร่าชีวีติของคุณได้ จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งในช่องปาก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของผู้ป่วยมะเร็งที่พบในประเทศ โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย หากสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ และให้การรักษาทันท่วงที จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ สามารถหายจากโรคได้ แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 จะมาพบแพทย์ เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะลุกลามแล้ว (advance stage) ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

พฤติกรรมก่อมะเร็งร้ายช่องปาก

การสูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเคี้ยวหมากพลู นับเป็นพฤติกรรมที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดสารก่อมะเร็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นให้เกิดการระคายเคืองในช่องปากและพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้

อาการของโรค มะเร็งช่องปาก

อาการเริ่มแรกของ โรคมะเร็งช่องปากจะมีระยะที่เรียกว่า Potentially Malignant Disorders (PMD) ซึ่งเราสามารถสังเกตความผิดปกติในช่องปากได้ เช่น รอยขาว (Leukoplakia) รอยแดง (Erythroplakia) ตุ่มก้อน หรือแผลเล็ก ๆ ในปาก ที่อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเพียงอย่างเดียว หรืออาจให้ความรู้สึกเจ็บปวดร่วมด้วย จากระยะ PMD จะใช้ระยะเวลา 5 ปีในการพัฒนาเป็นมะเร็งช่องปากระยะที่ 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล

 รู้ก่อน ป้องกันได้

ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากในประเทศไทยกว่าร้อยละ 80 มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาล่าช้าออกไป แต่หากได้รับการคัดกรองที่แม่นยำเริ่มรับการรักษาในระยะ PMD เป็นการรักษาโดยการใช้ยาทา บริเวณที่เป็นรอยโรค และติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยมีโอกาสหายได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตช่องปากด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ หรือปรึกษาทันตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านช่องปาก

โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งช่องปากสำหรับประเทศไทย ช่วยป้องกันได้หรือไม่

แผนงานวิชาชีพทันตแพทย์เพื่อการดำเนินงานควบคุมยาสูบ สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนารูปแบบโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งช่องปากสำหรับประเทศไทย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 เพื่อใช้คัดกรองผู้ป่วย รอยโรคมะเร็งช่องปากในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดย HITAP ศึกษาด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมดังกล่าว ยังไม่มีความคุ้มค่า ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเทียบกับการไม่มีโปรแกรมคัดกรองฯ เนื่องจากโปรแกรมการคัดกรองฯ ถูกออกแบบให้มีหลายขั้นตอนเพื่อความเหมาะสมกับการดำเนินงานทั้งประเทศ แต่ทว่ายังมีข้อจำกัดด้านต้นทุนในการดำเนินงานขั้นตอนในการตรวจคัดกรองมาก อีกทั้งเพิ่มภาระงานของบุคลากรทันตแพทย์ที่มีอยู่จำกัด

ที่สำคัญ การคัดกรองบางขั้นตอนมีประสิทธิผลต่ำ เช่น การตรวจรอยโรคด้วยตนเอง  พบว่าคนทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์จะไม่สามารถค้นพบ หรือระบุรอยโรคที่เป็นได้ด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อเทียบกับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น ทันตาภิบาล หรือทันแพทย์ ทำให้คนที่อาจมีรอยโรคไม่เข้าถึงการรักษา

เพิ่มประสิทธิภาพโปรแกรมคัดกรองมะเร็งช่องปาก… ช่วยป้องกันมะเร็ง

HITAP เสนอผลวิจัยเสนอแนะเชิงนโยบาย 3 ข้อเพื่อพัฒนาโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งในช่องปากสำหรับคัดกรองประชากรไทยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

1. เพิ่มประสิทธิภาพของการคัดกรองด้วยสายตาของประชาชนให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งช่องปากด้วยตนเอง
2. เพิ่มประสิทธิภาพของการคัดกรองด้วยสายตาโดยทันตาภิบาล โดยการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการคัดกรองมะเร็งช่องปากให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง
3. ปรับปรุงขั้นตอนของโปรแกรมการคัดกรองฯ โดยลดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งลง จะทำให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของรูปแบบโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งมากขึ้น โดยมี 3 ทางเลือกดังต่อไปนี้
โดยทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดคือทางเลือกที่ 3

New pic 4มะเร็งช่องปากป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรอง หากมีการพัฒนาประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองจะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ยืนยาว

[1] การคัดกรองด้วยตนเอง คือ การคัดกรองด้วยสายตาของประชาชน โดยการใช้แบบสอบถาม

[2] การคัดกรองด้วยสายตาโดยทันตภิบาล

[3] การคัดกรองด้วยสายตา โดยทันตแพทย์

[4] การคัดกรองด้วยสายตา โดยศัลยแพทย์

29 กรกฎาคม 2559

Next post > เมื่อการสนับสนุนเครื่องช่วยฟัง ไม่ใช่แค่ “ให้” เครื่อง

< Previous post ถ้าเกิดลูกน้อยของคุณเป็นโรคหืด จะมียาไหนสามารถช่วยได้

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ