logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
เมื่อมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจ ระบบบริการปฐมภูมิช่วยคุณได้

เซอร์ วินส์ตัน เชอร์ชิล รัฐบุรุษ ชาวอังกฤษ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “Healthy citizens are the greatest asset any country can have” ประชากรที่มีสุขภาพดี เป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศ  คำกล่าวนี้จะจริงแท้อย่างไร ก็เห็นได้จาก ทุกประเทศต่างยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพและดูแลคนในประเทศของตนให้มีสุขภาพดี สำหรับประเทศไทยแล้วการส่งเสริมสุขภาพของคนในประเทศ ก็ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้มั่นคง

ปัจจุบันระบบสวัสดิการสุขภาพของไทยแบ่งเป็น 3 ระบบ ได้แก่ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือชื่อที่หลายคนคุ้นเคยคือ บัตรทอง ทั้ง 3 ระบบนี้อยู่ภายใต้โครงสร้างบริการสุขภาพเดียวกัน โดยแบ่งเป็น ระดับบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ ซึ่งแต่ละระดับจะมีลักษณะของการบริการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการประเมินการรักษาของแพทย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าด่านแรกของบริการสุขภาพที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดคือ ระบบบริการปฐมภูมิ

ระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Care)  คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข (Frist line health care services)  มีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยประยุกต์ความรู้ทางวิชาการแพทย์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์ มีลักษณะผสมผสาน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ พร้อมทั้งประสานกับองค์กรชุมชนในท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตัวเอง

บริการปฐมภูมิสำคัญอย่างไร  บริการปฐมภูมิจะกระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศ มีการบริการในเขตพื้นที่ชนบท สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน สำหรับในเขตเมืองอาจเป็น ศูนย์บริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครหรือศูนย์แพทย์ชุมชน จะเห็นได้ว่าบริการปฐมภูมิอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน คอยให้ความรู้กับประชาชน และบริการที่มีคุณภาพทั้งด้านวิชาการทางการแพทย์ คือ รักษาถูกโรคถูกคน ถูกเวลา ทำให้ผู้ป่วยหายป่วยจากโรค และ ทางสังคม คือ การให้บริการแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการผสมผสานการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพทางกาย จิต  สังคม และสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับกับการให้บริการ

ในการบริการปฐมภูมิจะเห็นได้ว่าเป็นการบริการที่รวม 2 ส่วนไว้ด้วยกันคือทางการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แล้วนึกสงสัยไม่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าการบริการปฐมภูมิที่เราได้รับนั้นมีมาตรฐานหรือไม่ มีอะไรเป็นตัวชี้วัดในการตัดสินและการตรวจสอบการให้บริการ คำถามนี้อาจจะได้รับการตอบในตอนนี้
โปรดติดตามในจุลสาร เรื่องการประเมินโครงการตัวชี้วัดบริการสุขภาพ (QOF) ปีที่ 9 ฉบับที่ 28 กันยายน-ธันวาคม 2559

13 กรกฎาคม 2559

Next post > เพิ่งรู้! พ่นยาโรคหืดในเด็กถูกวิธี.. เป็นแบบนี้??

< Previous post สุขภาพจิตของวัยรุ่นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ