logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
สุขภาพจิตของวัยรุ่นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป

เด็กและเยาวชน ถือเป็นอนาคตรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุปันมีปัจจัยหลายด้าน ที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาสุขภาพของเด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านสุขภาวะ แล้วปัญหาสุขภาวะคืออะไร เด็กและวัยรุ่นไทยมีสุขภาวะที่ดีแล้วหรือยัง?

ปัญหาสุขภาวะของเด็กและวัยรุ่นไทย  

“สุขภาวะ” คือ การที่คนใช้ชีวิตอย่างมีสุขทั้งกาย และ จิต  แล้วเด็กและวัยรุ่นไทยมีสุขภาวะที่ดีแล้วหรือยัง?

ปัจจุบันเด็กและวัยรุ่นไทย กลุ่มอายุ 6-25 ปี พบปัญหาสุขภาพทางกายหลายประการ เช่น ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์รวมไปถึงการใช้ความรุนแรง ปัญหาเหล่าเป็นปัญหาที่เห็นชัดเจน และสังคมให้ความสำคัญ แต่เมื่อมองไปที่พฤติกรรมน่าห่วงอื่น ๆ เช่น สมาธิสั้น ไม่ตั้งใจเรียน ติดเกม-ติดจอ หรือการติดบุหรี่-ติดเหล้า กลับพบว่าพฤติกรรมเหล่านี้ถูกมองข้าม คนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ใช่โรคหรือปัญหาสุขภาพทางกาย  แต่ในความเป็นจริง หากพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัญหาทางสุขภาพเช่นกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น

ผลจากงานวิจัยของ HITAP ระบุว่า ปัญหาสุขภาพทางจิตที่สำคัญและรุนแรงลำดับต้น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นไทย ได้แก่ สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ ติดสารเสพติด และภาวะติดเกม

สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD  การบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder) และออทิซึม ล้วนเป็นโรคทางจิตเวช ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การแสดงออก มีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ในระดับแตกต่างกันไป แต่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลอย่างถูกต้อง จะส่งผลต่อพฤติกรรม การเข้าสังคม และการใช้ชีวิต ผลสำรวจพบเด็กประถมไทย ราวร้อยละ 5 มีอาการสมาธิสั้น ส่วนอาการบกพร่องทางการเรียนรู้พบราวร้อยละ 6-10 ของเด็กอายุ 6-12 ปี และโรคออทิซึ่มในเด็กอายุต่ำกว่า12 ปี พบประมาณ 7 ต่อ 10,000 ในผู้ป่วยนอก จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องมีการวางระบบให้เด็กเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้เท่าเทียม

ปัญหาการติดสารเสพติด เป็นปัญหาที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการใช้สารเสพติดประเภทที่ถูกกฎหมายอย่าง บุหรี่-เหล้า และสารเสพติดที่ผิดกฎหมาย เช่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน ฯลฯ  จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า อายุน้อยที่สุดเริ่มสูบบุหรี่  คือ11 ปี และพบว่าผู้สูบบุหรี่อายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นประมาณ 6 แสนคนต่อปี นอกจากนี้ ยังพบการเสพสารเสพติดในเด็ก โดยเด็กอายุต่ำสุดเริ่มเสพเมื่ออายุ 7 ปี ซึ่งถ้าหากร่วมกันป้องกันมิให้เกิดเด็กและเยาวชนหน้าใหม่ จะสามารถลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ 80,000 – 160,000 บาทต่อคน

ปัญหาติดเกมติดจอ คือการที่เด็กใช้เล่นเกม หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมอื่นในชีวิต ไม่รู้จักการแบ่งเวลา จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 97 เปอร์เซ็นต์ ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอย่างน้อย 1-4 วันต่อสัปดาห์ นอกจากนี้การติดเกม ส่งผลต่อการแสดงออกที่ก้าวร้าว การทะเลาะวิวาท และการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น

นี่เป็นเพียงผลการศึกษาส่วนหนึ่ง ของ การศึกษาพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคสำหรับเด็กและเยาวชน โดย HITAP ได้จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาวะ รวมถึงมาตรการที่ดำเนินการทั้งในและต่างประเทศ นำเสนอสปสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาต่อไป สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักการศึกษา กทม. เห็นไปในแนวทางเดียวกันจึงริเริมโครงการ “เด็กกรุงเทพฯสุขภาพดี Bangkok Healthy Kids” ด้วยการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาวะให้เกิดการปรับทัศนคติและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพอย่างยั่งยืนด้วยตัวเองให้ตระหนักถึงการมีสุขภาวะ และทักษะในอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

 

5 กรกฎาคม 2559

Next post > เมื่อมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจ ระบบบริการปฐมภูมิช่วยคุณได้

< Previous post ปัญหาอนามัยโรงเรียนทำอย่างไรถึงจะมีทางออก

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ