logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
ปัญหาอนามัยโรงเรียนทำอย่างไรถึงจะมีทางออก

ปัญหาอนามัยโรงเรียนทำอย่างไรถึงจะมีทางออก

อีกไม่ถึง 2 ทศวรรษ ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ  ทำให้มีการประมาณการว่า วัยทำงาน 1 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ ถึง 2 คน ซึ่งถือเป็นภาระหนักของคนกลุ่มนี้ ดังนั้นประเทศจำเป็นต้องเร่งสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพ แต่ด้วยระบบสุขภาพของเด็กไทยในปัจจุบันไม่ได้เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มที่ เห็นได้จากงานวิจัยหลายชิ้นที่ ระบุถึงปัญหาเด็กไทยส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการได้รับบริการดูแลด้านสุขภาพด้านต่างๆ เช่น  การตรวจสุขภาพร่างกาย การวัดการเจริญเติบโตและอื่นๆ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นเหตุให้การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนจึงเกิดขึ้น

การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนคืออะไร

การดำเนินงานอนามัยโรงเรียน คือ การเน้น 4 เรื่องได้แก่สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education) อนามัยสิ่งแวดล้อม (School Health Environment) บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Service) และความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน (School and Home Relationship) ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลากรทุกคนที่อาศัยอยู่ในโรงเรียนมีสุขภาพดี โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน บ้านและชุมชน

ที่ผ่านมางานอนามัยโรงเรียนมีปัญหาอะไรบ้าง
ผลจากการประเมินการบริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในปี 2557-2558 โดยความร่วมมือจาก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ พบ 3 ปัญหาหลักได้แก่ ขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอนามัยโรงเรียน ไม่มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ รวมถึงคุณสมบัติของครูอนามัยที่ชัดเจน และขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ รวมถึงคู่มือในการดำเนินงาน

1. ปัญหาขาดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอนามัยโรงเรียน เห็นได้จากการกำหนดนโยบาย ตัวชี้วัด และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต่างกัน ของ 3 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สปสช. สธ. และ ศธ. ส่งผลให้ตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกัน ต้องมีการบันทึกข้อมูลหลายแบบ ซ้ำซ้อน
2. ไม่มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และคุณสมบัติของครูอนามัยที่ชัดเจน จากผลการประเมินพบว่า จำนวนครูอนามัยมีเพียง 1-2 คน ต่อโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นครูที่ไม่มีประสบการณ์ด้านอนามัยโรงเรียนมาก่อน ทำให้ขาดทักษะและประสบการณ์ด้วยเหตุที่ไม่ได้รับการศึกษาด้านอนามัยโดยตรง หรือไม่ได้ผ่านการอบรมก่อนรับตำแหน่งครูอนามัย
3. ปัญหา ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และคู่มือบริการอนามัยโรงเรียน สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในแต่ละปี

อย่างไรก็ตามโรงเรียนในประเทศไทยแยกสังกัดหลายหน่วยงานไม่เฉพาะแต่กระทรวงศึกษาเท่านั้น ยังมีกระทรวงมหาดไทยที่ดูแลโรงเรียนภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงเป็นที่มาของโครงการนำร่อง ภายใต้โครงการนำร่อง จะเน้นการพัฒนา “บริการต้นแบบ” 4 มาตรการ ได้แก่การคัดกรองสายตา การประเมินการเจริญเติบโต การแก้ไขปัญหาโลหิตจางโดยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก และการสร้างเสริมทันตสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพเด็กประถมไทย โดยกรมอนามัย ร่วมมือกับ อปท. สปสช. และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินโครงการใน 4 จังหวัด คือเชียงราย อุดรธานี สระบุรี และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้สาเหตุที่เลือกดำเนินโครงการในโรงเรียนสังกัด อปท. เพราะ อปท.ถือเป็นหน่วยงานที่มีสถานะนิติบุคคล จึงมีความคล่องตัวในการกำหนดนโยบายและแนวทางให้กับหน่วยงานอื่น เช่น ศูนย์บริการสุขภาพและโรงเรียนในสังกัดได้นำไปปฏิบัติ อีกทั้งต้องการให้หน่วยงานท้องถิ่นมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย และ นพ.กฤช ลี่ทองอิน ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวไปในแนวทางเดียวกันว่า หากโครงการนำร่องนี้เสร็จสิ้น จะมีการประเมินผลอย่างเป็นระบบพร้อมแนวทางในการแก้ไข เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขยายการดำเนินงานไปยังโรงเรียนในสังกัดท้องถิ่นให้ครบทุกแห่งเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่นอันจะนำไปสู่ความสำเร็จและสามารถแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการและคุณภาพข้อมูลสุขภาพของเด็กประถมศึกษาได้อย่างยั่งยืน

29 มิถุนายน 2559

Next post > สุขภาพจิตของวัยรุ่นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป

< Previous post ผลวิจัย HITAP ชี้ให้วัคซีนป้องกันเอชไอวีกับกลุ่มเสี่ยงคุ้มสุด และพฤติกรรมหลังรับวัคซีนคือตัวแปรสำคัญ!

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ