logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

สปสช. และ HITAP ขอเชิญท่านมาร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับบริการสุขภาพของประเทศไทย ด้วยการตอบแบบสอบถามในหัวข้อ “การปฏิบัติงานตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
หยิบข่าวมาเล่า: “มะเร็งปากมดลูก” คร่าชีวิตพุ่งเหตุตรวจคัดกรองต่ำ HITAP เผยงานวิจัยชี้คัดกรองด้วย VIA ร่วมกับ pap smear ที่อายุ 30 ปีขึ้นไปมีความคุ้มค่ามากที่สุด

วานนี้ (7 ต.ค.58) หนังสือพิมพ์มติชนหยิบข่าวเกี่ยวกับ การตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยที่ปัจจุบันพบผู้ป่วยจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ผศ.นพ.ไพโรจน์ จรรยางค์ดีกุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยา ให้ข้อมูลว่า มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตประมาณ 20 คน จาก 100,000 คน โดยมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัศ หรือเชื้อเอชพีวี (HPV) จากการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเริ่มติดเชื้อเอชพีวีจนกระทั่งดำเนินโรคเป็นมะเร็งปากมดลูกใช้เวลา 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์หรือความรุนแรงและภูมิต้านทานของร่างกาย การที่ใช้ระยะเวลาในการก่อโรคทำให้มีเวลาป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติจนถึงขั้นเป็นมะเร็งได้ ด้วยการตรวจคัดกรองเป็นระยะๆ เพื่อตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งจะใช้วิธีการตรวจด้วยเซลล์วิทยา (Pap Smear) เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูก ปัจจุบันสามารถใช้การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีช่วยในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีความไวในการค้นหาความผิดปกติได้ดีขึ้น หากการตรวจเอชพีวี และเป็ปเมียร์ไม่พบความผิดปกติ สามารถเว้นระยะการตรวจคัดกรองได้ 3-5 ปี

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก” โดยผลการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการสำหรับป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย พบว่า การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย VIA ร่วมกับ pap smear ที่อายุ 30. 40 ปี และ 50, 60 ปี มีความคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนการฉีดวัคซีนที่อายุมากกว่า 25 ปี ต้องใช้ต้นทุน 1-5 ล้านบาทในการยืดอายุขัยของสตรี 1 ปี ขณะที่การฉีดวัคซันที่อายุ 15 ปีร่วมกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีต้นทุนประมาณ 5-6 แสนบาทต่อการยืดอายุขัยขอบสตรี 1 ปี

ติดตาม อ่านผลการวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://www.hitap.net/research/17496

8 ตุลาคม 2558

Next post > “นักทัศนมาตร” คือใคร? สำคัญหรือไม่? กับสุขภาพตาของประชากรไทย!! (ตอนที่ 1)

< Previous post การคุ้มครองผู้บริโภคด้านเครื่องสำอาง...มองมุมกว้างที่มากกว่าผิวขาวใส

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ