Forbes จัดลำดับประเทศอ้วน…ไทยอันดับไหน และโรคอ้วนส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างไร
สวัสดีวันศุกร์ปลายเดือนค่ะ มีข่าวรอบโลกมาฝาก นิตยสารฟอร์บ-เจ้าแห่งการจัดลำดับ- นำเสนอจัดลำดับประเทศที่มีจำนวนประชาการที่มีน้ำหนักเกินมากที่สุด (World’s Fattest Countries) ถ้าหากให้ทายกันเล่น ๆ หลายคนคงคิดเหมือนกันว่าหนีไม่พ้นอเมริกา ประเทศแห่ง Junk Food
แม้สหรัฐอเมริกาจะติด 1 ใน 10 แต่ประเทศที่ครองอันดับหนึ่งกลับเป็น ประเทศนาอูรู ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ 94.5 % ของคนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนอันดับ 2 และ 3 ได้แก่ ประเทศไมโครนีเซีย และหมู่เกาะคุก
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่าปัญหาโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเนื่องจากการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ผู้มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงภาวะน้ำหนักเกินมากที่สุด เพราะเข้าถึงอาหาร Junk Food ได้ง่ายและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
ประเทศไทยเองก็ได้รับการจัดอันดับในลิสนี้นะคะ เราอยู่อันดับที่ 144 จาก 194 ประเทศ แม้จะเป็นอันดับท้าย ๆ แต่งานวิจัย HITAP พบว่าปัญหาโรคอ้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่น้อยเลย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรคอ้วนกว่า 12,000 ล้านบาทในแต่ละปี หรือเท่ากับ 2.2 % ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศ เพราะ
• อ้วนแล้วมีโรค – โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง
• อ้วนแล้วกระทบการทำงาน – ขาดงานจากเจ็บป่วย ทำงานได้ไม่เต็มที่ เสียชีวิตก่อนวัย
• อ้วนแล้วคุณภาพชีวิตไม่ดี – ยิ่งอ้วนมาก ยิ่งทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงมากขึ้นเท่านั้น
แต่ปัญหานี้เราสามารถแก้ง่าย ๆ เริ่มที่ตัวเองโดยออกกำลัง ลดน้ำหนัก ลดโรค: มีผลวิจัยยืนยัน ลดน้ำหนักเพียง 5-10% ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง ยืดอายุ เพิ่มคุณภาพชีวิต และป้องกันไม่ให้อ้วน: มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ค่ะ
อ่านรายละเอียดบทความ World’s Fattest Countries
- การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนในประเทศไทย