logo

HITAP ร่วมมือกับกรมการแพทย์ จัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการ “การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่าฯ ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ เพื่อบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย”

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายสื่อสารองค์กร HITAP
หลัก 11 ประการ ของการประเมินความคุ้มค่าที่ดี

การประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และสาธารณสุข (Health Economic Evaluation) คือ การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนกับผลลัพท์ด้านสุขภาพที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพนั้น ๆ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศ

เช่นเดียวกับการทำวิจัยอื่นๆ ที่มาตฐานในการทำวิจัยจะแตกต่างกันไป แต่งานวิจัยที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือที่สูง เครือข่าย International Decision Support Initiative หรือ iDSI จึงทำการศึกษาปัจจัยสำคัญที่ทำให้การประเมินความคุ้มค่ามีมาตรฐาน และสรุปออกมาเป็นหัวข้อสั้นๆ 11 หัวข้อได้แก่

1. Transparency: การประเมินความคุ้มค่าที่ดีต้องยึดหลักความโปร่งใส สามารถชี้แจงให้ผู้กำหนดนโยบายเข้าใจได้อย่างชัดเจนถึงขั้นตอน วิธีการทำวิจัย และการแปลผล อีกทั้งหากนำไปทำซ้ำด้วยวิธีการและข้อมูลเดียวกัน ผลที่ได้ต้องเหมือนกัน

2. Comparators: ตัวเปรียบเทียบ (เทคโนโลยี/นโยบายด้านสุขภาพ) ที่เลือกมาประเมินต้นทุนและผลลัพธ์ ต้องสามารถตอบโจทย์การตัดสินใจได้ โดยอย่างน้อยที่สุดการทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบต้องเลือกเปรียบเทียบเทคโนโลยีด้านสุขภาพใหม่ กับสิ่งที่ใช้อยู่แล้ว ส่วนการเปรียบเทียบเทคโนโลยีใหม่กับการไม่ให้การรักษาเลย ใช้วิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
3. Evidence: การประเมินความคุ้มค่าที่ดี ต้องคำนึงถึงข้อมูลทุกชิ้นที่ปรากฏและที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น การเลือกใช้หรือไม่ใช้ข้อมูลต่าง ๆ ต้องทำอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน และโปร่งใส ทั้งนี้ไม่ควรนำข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณมาใช้เป็นเหตุผลในการเลือกใช้หรือไม่ใช้ข้อมูลชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
4. Measure of outcome: การวัดผลลัพธ์ด้านสุขภาพของการประเมินเทคโนโลยีนั้น ๆ ต้องเตรงกับประเด็นที่ต้องการตัดสินใจ ต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการยืดอายุและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งหน่วยการคำนวณที่นำมาใช้ ต้องสามารถนำไปเปรียบเทียบและแปรผลระหว่างโรคต่าง ๆ ได้
5. Measurement of Costs: การคำนวณต้นทุน ควรคิดจากต้นต้นทุนที่จะเกิดขึ้นหากนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ โดยพิจารณาต้นทุนอย่างรอบด้าน ทั้งนี้หมายรวมถึงต้นทุนที่เป็นตัวเงินและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง (ค่ายา ค่ารักษา) และต้นทุนทางอ้อม เช่น การกระจายเทคโนโลยีนั้นไปยังผู้ใช้
6. Time horizon for costs and effects: ระยะเวลาที่มาใช้พิจารณาผลกระทบของเทคโนโลยี ควรนานพอที่จะประเมินทุนและผลลัพธ์ของเทคโนโลยี/นโยบายที่จะตัดสินใจ ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่นำมาใช้พิจารณาคือตลอดชีวิตของผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นๆ ทั้งนี้ควรใช้การปรับลดต้นทุนในอนาคต กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วย
7. Costs and Effects outside health: ต้นทุนและผลลัพธ์นอกระบบสุขภาพ แต่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยี/นโยบายสุขภาพนั้น ๆ มาใช้ ควรถูกนำมาพิจารณาในการประเมินความคุ้มค่าด้านสาธารณสุข แต่ในการนำเสนอผลการประเมินเพื่อการตัดสินใจ ให้แยกนำเสนอให้ชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจ
8. Heterogeneity: เนื่องจากเทคโนโลยี/นโยบายด้านสุขภาพหนึ่ง ๆ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต่างกันในประชากรกลุ่มย่อยต่าง ๆ การประเมินความคุ้มค่าที่ดีควรพิจารณาเรื่องผลกระทบของเทคโนโลยี/นโยบายนั้นๆ ในคนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนด้านสุขภาพ
9. Uncertainty: ในทุกการประเมินความคุ้มค่าต้องยอมรับถึงความเป็นไปได้ในความไม่แน่นอนของผล เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการประเมินความคุ้มค่าทีดีต้องระบุปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนของผลวิจัยอย่างชัดเจน
10. Impact on other constraints and budget impact: ควรระบุแยกแยะให้เห็นชัดเจนถึง ผลกระทบด้านงบประมาณและผลกระทบต่อทรัพยากรที่เกี่ยวข้องจากการนำเทคโนโลยี/นโยบายด้านสุขภาพนั้น ๆ มาใช้
11. Equity implications: การประเมินความคุ้มค่าที่ดีควรพิจารณาเรื่องความเท่าเทียมในการได้รับ หรือเข้าถึงหากนำเทคโนโลยี/นโยบายด้านสุขภาพนั้น ๆ มาใช้
หากสนใจอ่านเอกสารฉบับเต็มเรื่อง Reference case of Economic Evaluation โดย iDSI อ่านได้ที่ http://www.idsihealth.org/knowledge_base/the-reference-case-for-economic-evaluation/

24 มีนาคม 2558

Next post > Forbes จัดลำดับประเทศอ้วน...ไทยอันดับไหน และโรคอ้วนส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างไร

< Previous post ข่าวความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพด้าน HTA ในภูมิภาคเอเชีย และ ความเคลื่อนไหวของเครือข่าย iDSI

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

ยกเลิกการตอบ